1) แบ่งตามนิเวศน์การปลูก
ข้าวนาสวน
ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำขังหรือกักเก็บน้ำได้ระดับน้ำลึกไม่เกิน 50 เซนติเมตร ข้าวนาสวนมีปลูกทุกภาคของประเทศไทย แบ่งออกเป็น ข้าวนาสวนนาน้ำฝน และข้าวนาสวนนาชลประทาน
– ข้าวนาสวนนาน้ำฝน
ข้าวที่ปลูกในฤดูนาปี และอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ การกระจายตัวของฝน ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวนาน้ำฝนประมาณ 70% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด
– ข้าวนาสวนนาชลประทาน
ข้าวที่ปลูกได้ตลอดทั้งปีในนาที่สามารถควบคุมระดับน้ำได้ โดยอาศัยน้ำจากการชลประทาน ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวนาชลประทาน 24% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด และพื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคกลาง
ข้าวขึ้นน้ำ
ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำท่วมขังในระหว่างการเจริญเติบโตของข้าว มีระดับน้ำลึกตั้งแต่ 1-5 เมตร เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือน ลักษณะพิเศษของข้าวขึ้นน้ำคือ มีความสามารถในการยืดปล้อง (internode elongation ability) การแตกแขนงและรากที่ข้อเหนือผิวดิน (upper nodal tillering and rooting ability) และการชูรวง (kneeing ability)
ข้าวน้ำลึก
ข้าวที่ปลูกในพื้นที่น้ำลึก ระดับน้ำในนามากกว่า 50 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 100 เซนติเมตร
ข้าวไร่
ข้าวที่ปลูกในที่ดอนหรือในสภาพไร่ บริเวณไหล่เขาหรือพื้นที่ซึ่งไม่มีน้ำขัง ไม่มีการทำคันนาเพื่อกักเก็บน้ำ
ข้าวนาที่สูง
ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำขังบนที่สูงตั้งแต่ 700 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป พันธุ์ข้าวนาที่สูงต้องมีความสามารถทนทานอากาศหนาวเย็นได้ดี
2) แบ่งตามการตอบสนองต่อช่วงแสง
ข้าวไวต่อช่วงแสง
เป็นข้าวที่ออกดอกเฉพาะเมื่อช่วงเวลากลางวันสั้นกว่า 12 ชั่วโมง โดยพบว่าข้าวไวต่อช่วงแสงในประเทศไทยมักจะออกดอกในเดือนที่มีความยาว ของกลางวันประมาณ 11 ชั่วโมง 40 นาที หรือสั้นกว่านี้ ดังนั้นข้าวที่ออกดอกได้ในเดือนที่มีความยาวของกลางวัน 11 ชั่วโมง 40-50 นาที จึงได้ชื่อว่าเป็นข้าวที่มีความไวต่อช่วงแสงน้อย (less sensitive to photoperiod) และพันธุ์ที่ออกดอกเฉพาะในเดือนที่มีความยาวของกลางวันประมาณ 11 ชั่วโมง 10-20 นาทีก็ได้ชื่อว่าเป็นพันธุ์ที่มีความไวต่อช่วงแสงมาก (strongly sensitive to photoperiod) พันธุ์ข้าวประเภทนี้จึงปลูกและให้ผลผลิตได้ปีละหนึ่งครั้ง หรือปลูกได้เฉพาะในฤดูนาปี บางครั้งจึงเรียกว่า ข้าวนาปี พันธุ์ข้าวในประเทศไทยที่เป็นพันธุ์พื้นเมืองส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่มีความไวต่อช่วงแสง
ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง
เป็นข้าวที่ออกดอกเมื่อข้าวมีระยะเวลาการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตตามอายุ จึงใช้ปลูกและให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี หรือปลูกได้ในฤดูนาปรัง บางครั้งจึงเรียกว่า ข้าวนาปรัง
ตารางแสดงพันธุ์ข้าวต่างๆ
พันธุ์ข้าวนาสวนไวต่อช่วงแสง
กข5 ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 ลูกแดงปัตตานี
กข6 เฉี้ยงพัทลุง เล็บนกปัตตานี
กข8 ชุมแพ 60 หางยี 71
กข12 (หนองคาย 80) นางพญา 132 เหมยนอง 62 เอ็ม
กข13 นางมล เอส-4 เหนียวสันป่าตอง
กข15 น้ำสะกุย 19 เหนียวอุบล 1
กข27 เผือกน้ำ 43 เหนียวอุบล 2
กข35 (รังสิต 80) ปทุมธานี 60 เหลืองประทิว 123
กำผาย 15 พวงไร่ 2 เหลืองใหญ่ 148
เก้ารวง 88 พัทลุง 60 เข็มทองพัทลุง
ขาวดอกมะลิ 105 พิษณุโลก 3 ข้าวหลวงสันป่าตอง
ขาวตาแห้ง 17 พิษณุโลก 60-1 แก่นจันทร์
ขาวปากหม้อ 148 พิษณุโลก 80 เจ๊กเชย 1
พันธุ์ข้าวนาสวนไม่ไวต่อช่วงแสง
กข1 กข29 (ชัยนาท 80) พิษณุโลก 2
กข2 กข31 (ปทุมธานี 80) พิษณุโลก 60-2
กข3 กข33 (หอมอุบล 80) แพร่ 1
กข4 กข37 สกลนคร
กข7 กข39 สันป่าตอง 1
กข9 ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1 สุพรรณบุรี 1
กข10 ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี สุพรรณบุรี 2
กข11 ชัยนาท 1 สุพรรณบุรี 3
กข14 ชัยนาท 2 สุพรรณบุรี 60
กข21 ปทุมธานี 1 สุพรรณบุรี 90
กข23 บางแตน สุรินทร์ 1
กข25 พัทลุง
พันธุ์ข้าวขึ้นน้ำไวต่อช่วงแสง
ตะเภาแก้ว 161 ปิ่นแก้ว 56 เล็บมือนาง 111
นางฉลอง พลายงาม ปราจีนบุรี
พันธุ์ข้าวน้ำลึกไวต่อช่วงแสง
กข19 ปราจีนบุรี 1 อยุธยา 1
หันตรา 60 ปราจีนบุรี 2
พันธุ์ข้าวน้ำลึกไม่ไวต่อช่วงแสง
กข17
พันธุ์ข้าวไร่ไวต่อช่วงแสง
กู้เมืองหลวง ซิวแม่จัน เจ้าลีซอสันป่าตอง
ขาวโป่งไคร้ ดอกพะยอม เจ้าขาวเชียงใหม่่
เจ้าฮ่อ น้ำรู
พันธุ์ข้าวไร่ไม่ไวต่อช่วงแสง
อาร์ 258
พันธุ์ข้าวแดงไม่ไวต่อช่วงแสง
ข้าวหอมกุหลาบแดง
พันธุ์ข้าวแดงไวต่อช่วงแสง
ข้าวหอมแดง สังข์หยดพัทลุง