ความสำคัญของเครื่องสีข้าวขนาดเล็กสำหรับชุมชน
• เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างรายได้เพิ่มในการสีแปรรูปข้าวให้กับเกษตรกรในท้องถิ่น
• ช่วยให้เกษตรกรสามารถรวมกลุ่มกันสีข้าวบริการสมาชิก และจำหน่ายในชุมชน ทำให้เกิดการพึ่งพาต้นเองได้อย่างครบวงจร
• ช่วยส่งเสริมเกษตรกรในชุมชนที่ทำเกษตรอินทรีย์ มีทางเลือกในการสีข้าวอินทรีย์พันธ์ุท้องถิ่นที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหาร เช่นข้าวกล้องหอมมะลินิลสุรินทร์อินทรีย์
• ช่วยให้เกษตรกรมีความมั่นคงทางอาหาร โดยสามารถปลูกและเก็บข้าวเปลือกสำหรับสี บริโภคโดยไม่ต้องขึ้นกับโรงสีขนาดใหญ่ในพื้นที่
การพัฒนาเครื่องสีข้าวขนาดเล็กในประเทศไทย
• การพัฒนาเครื่องสีข้าวขนาดเล็กโดยส่วนใหญ่มีขนาดกำลังการผลิต < 150 กก.ข้าวเปลือก / ชม. จะเป็นการพัฒนาเน้นเฉพาะการสีข้าวกล้อง ซึ่งยังมีข้อจำกัดการใช้เนื่องจากยังขาดอุปกรณ์บางส่วน เช่น อุปกรณ์แยกข้าวเปลือกออกจากข้าวกล้อง
• การพัฒนาเครื่องสีข้าวขนาด 1 ตัน ข้าวเปลือก / ชม.จะมีค่อนข้างน้อย และตัวเครื่องสีข้าวยังมีราคาค่อนข้างสูง
เครื่องสีข้าวขนาดเล็กสำหรับชุมชนต้นแบบ รุ่นมาตรฐาน
1. สมรรถนะในการสี ข้าวกล้องประมาณ 150-200 กก.ข้าวเปลือก / ชม.
2. สมรรถนะในการสี ข้าวขาวประมาณ 120 -150 กก.ข้าวเปลือก / ชม.
3. ประสิทธิภาพในการสีข้าวกล้องได้ประมาณ 65 – 70 % จากข้าวเปลือก 100 %
4. ประสิทธิภาพในการสีข้าวขาวได้ประมาณ 55 – 62 %
ประสิทธิภาพในการใช้งานเครื่องสีข้าวขนาดเล็กสำหรับชุมชน
พันธุ์ข้าว | % นน.ข้าวกล้องเต็มเมล็ด | % นน.ข้าวกล้องหัก | %นน. แกลบ |
ข้าวหอมนิล | 67 – 72 | 2 – 5 | 20 – 23 |
ข้าวหอมมะลิแดง | 66 – 71 | 3 – 6 | 22– 26 |
ข้าวหอมมะลิ 105 | 65 – 69 | 2 – 4 | 24 – 28 |
• การใช้งานเครื่องสีข้าวจะเป็นการสีข้าวกล้องของกลุ่มเป็นหลัก และมีการรับจ้างสีข้าวให้กับสมาชิกบ้าง
• มีการสีข้าวหลากหลายชนิด เช่นข้าวหอมนิล ข้าวมะลิแดง ข้าวขาวมะลิ 105 ข้าวเหนียว
• เครื่องสีข้าวมีประสิทธิภาพในการสีข้าวกล้องได้ข้าวกล้องเต็มเมล็ดประมาณ 65 – 68 % ได้ปลายข้าวกล้องประมาณ 5 – 8 %
• การใช้งานเครื่องสีข้าวบริการสีข้าวแก่สมาชิกในกลุ่ม และรับจ้างสีข้าวให้กับลูกค้ารายย่อย
• มีการสีข้าวทั้ง ข้าวกล้อง และข้าวขาว เช่น ข้าวหอมชลสิทธิ์
• มีการออกแบบติดตั้ง เพิ่มหัวขัดข้าวเป็น 2 ชุด และตะแกรงกลมคัดขนาดข้าวเต็มเมล็ด
• เครื่องสีข้าวมีประสิทธิภาพในการสีข้าวได้ข้าว ขาวประมาณ 55 -60 % ปลายข้าว 10 -15 %
• ให้การสีข้าวบริการสมาชิกภายในชุมชน
• สีข้าวอินทรีย์หลากหลายสายพันธ์ุเช่น ข้าวหอมล้านนา ข้าวหอมนิลข้าวมะลิแดง ข้าวขาวมะลิ 105 ข้าวเหนียว ฯลฯ
• ประสิทธิภาพในการสีข้าวได้ข้าวสารประมาณ 55 – 65 % ปลายข้าว 10 -15 % รำข้าว 8 %
1. รายได้จากการรับจ้างสีข้าว กก.ละ 2 บาท สีข้าววันละ 1.5 ตัน
= 60,000 บาท / เดือน
2. รายได้จากการสีข้าวแบบได้ข้าวสารและปลายข้าว การรับจ้างสีข้าว 1 ตัน ได้ข้าวสาร 50 กก. ปลายข้าว 100 กก. รำข้าว 60 กก. ( 50*25 + 100*10 + 60*10 = 2,850 บาท / ตัน หรือ 4,275 บาท / วัน )
= 85,500 บาท / เดือน
*หมายเหตุ 1 เดือน ทำงาน 20 วัน / สีข้าววันละ 1.5 ตัน / 8 ชม.*
1. ค่าไฟฟ้ามอเตอร์ต้นกำลัง. 8.5 แรงม้า (ทำงานวันละ 8 ชม. )
= 3,000 บาท / เดือน
2. ค่าวัสดุสิ้นเปลือง ลูกยางกะเทาะเปลือก แกนขันขัดตะแกรงสายพาน
= 4,000 บาท / เดือน
3. ค่าแรงงาน จำนวน 2 คน
= 12,000 บาท / เดือน
รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด = 19,000 บาท / เดือน
หมายเหตุ 1 เดือน ทำงาน 20 วัน / สีข้าววันละ 1.5 ตัน / 8 ชม.
ประมาณความคุ้มค่าในการใช้งานเครื่องสีข้าวชุมชน
= ต้นทุนคงที่ / ( รายได้ – ค่าใช้จ่าย )
= 300,000 / ( 60,000 – 19,000 )
= 7.4 เดือน
ปัญหาและอุปสรรคในการใช้งานเครื่องสีข้าวขนาดเล็กสำหรับชุมชน
1. การจัดการแบ่งชนิดของข้าว ที่จะสีข้าวของเครื่องสีข้าว
2. การชั่งน้ำหนักของข้าวที่จะทำการสีข้าว
3. การทำระบบบัญชีของข้าวเปลือกที่จะทำการสีข้าว
4. การจัดการตกลงวันเวลาที่จะทำการสีข้าวที่ชัดเจน
การบริหารการจัดการใช้งานเครื่องสีข้าวอย่างมีประสิทธิภาพ
1. ผู้ใช้งานต้องมีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนการใช้งานเครื่องสีข้าวเป็นอย่างดี
2. ผู้ใช้งานต้องเข้าใจในข้อจำกัดของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครื่องสีข้าว
3. ผู้ใช้งานต้องตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้งานเครื่องสีข้าว
4. ผู้ใช้งานต้องตระหนักและคำนึงถึงความสะอาดของข้าว และป้องกันสิ่งสกปรกที่อาจจะปนลงในข้าวที่สี
5. ผู้ใช้งานควรจัดสรรเวลาในการสีข้าวให้เหมาะสม และเกิดประสิทธิภาพในการสีข้าว
การบริหารจัดการการซ่อมบารุงรักษาเครื่องสีข้าว
1. ผู้ใช้งานเครื่องสีข้าวต้องมีการทาการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องสีข้าวตามคู่มือ หรือตารางการปฎิบัติงาน
2. ผู้ใช้งานจะต้องมีการเตรียมสต๊อกอะไหล่ที่จำเป็นของเครื่องสีข้าว ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน
2.1 อะไหล่เฉพาะ เช่น แกนขัดข้าว ลูกยางกะเทาะเปลือก สายพานแบน น๊อตสายพานประมาณ 2 -3 ชุด
2.2 อะไหล่ทั่วไป เช่น ลูกปืนแบริ่ง สายพานพูลเล่ย์ น๊อต ทั่วไป 2 -3 ชุด
3. ผู้ใช้งานควรจะต้องมีเครื่องมืออุปกรณ์ซ่อมบารุงขั้นพื้นฐาน เช่น ประแจแหวน ไขควง ที่อัดจารบี แปรงลวด ค้อน คีม ฯลฯ
แหล่งที่มา
1. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ – สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี
2. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ – สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์: ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
3. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ – มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รูปแบบองค์ความรู้
1. บทความบน website
2. เอกสาร download
Link
1. เครื่องสีข้าวขนาดเล็กของชุมชน (Link)
2. เครื่องสีข้าวกับชุมชน (Link)
3. เครื่องสีข้าว (Link)