เวลาที่เหมาะสมในการผสมเทียมในโค
หลังจากฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่ตัวมดลูก (Body of Uterus) แล้วอสุจิจะใช้เวลาในการเดินทางไปถึงท่อนำไข่เป็น 2 ลักษณะ
1. ลักษณะเร็ว: จะตายทั้งหมดและถูกขับออกทาง fimbria ของท่อนำไข่และตกลงช่องท้องส่วนอสุจิที่เคลื่อนที่ถึงท่อนำไข่
2. ลักษณะช้า: จะเป็นอสุจิที่เข้าทาการปฏิสนธิ ซึ่งจะเริ่มพบอสุจิที่ยังแข็งแรง พร้อมที่จะทาการปฏิสนธิได้ในท่อนำไข่ส่วน Ampulla ประมาณ 10 ชั่วโมง หลังผสมเทียมและพบมากที่สุดประมาณ 24 ชั่วโมงหลังผสมเทียม
ตำแหน่งที่ฉีดน้ำเชื้อในโค
ในการผสมเทียม ปริมาณตัวอสุจิที่ใช้จะน้อยกว่าการผสมตามธรรมชาติมาก หากปล่อยน้ำเชื้อที่ตำแหน่งช่องคลอดอาจทำให้ผสมต่ำ ดังนั้นตำแหน่งที่ปล่อยน้ำเชื้อ คือที่ตัวมดลูก (Body of uterus) และภายในคอมดลูก (cervix) โดยปล่อยน้ำเชื้อปริมาณ 2 ใน 3 ที่ตัวมดลูก (Body of Uterus) เลยส่วนของ internal os ประมาณ 1 เซนติเมตร จากนั้นถอยปืนฉีดน้ำเชื้อออกมาให้ปลายปืนอยู่ในคอมดลูกและปล่อยน้ำเชื้อที่เหลืออีก 1 ใน 3 ของหลอดในส่วนของคอมดลูก (Cervix)
การผสมเทียมในโคมีขั้นตอนหลักใหญ่ ๆ 3 ขั้นตอน
1.การเตรียมโคก่อนผสมเทียม: สังเกตอาการภายนอก โคที่เป็นสัดจะยืนนิ่งให้ตัวอื่นปีนทับ มีเมือกใสที่มีลักษณะเหนียวข้นไหลจากช่องคลอด อวัยวะเพศบวมแดง
2. การเตรียมอุปกรณ์ผสมเทียมและการละลายน้ำเชื้อ: สวมถุงมือผสมเทียมแล้วเคลือบด้วยสารหล่อลื่นเพื่อความง่ายต่อการล้วง เช่น ใช้สบู่ถูถุงมือแล้วล้วงผ่านทางทวารหนัก เป็นต้น ทำการล้วงอุจจาระออกมาจากลำไส้ใหญ่ส่วนปลายให้หมด ตรวจคลำระบบสืบพันธุ์ของแม่โคว่าแม่โคเป็นสัดจริงหรือไม่ โดยโคที่เป็นสัดจริงมดลูกต้องมีการแข็งเกร็งตัวมากกว่าระยะที่ไม่เป็นสัด
3. การสอดท่อผสมเทียมในการผสมเทียม: ล้างบริเวณอวัยวะเพศภายนอกของแม่โคด้วย น้ำให้สะอาดและเช็ดทั้งด้านนอกด้านในให้แห้งด้วยกระดาษ ทิชชู หรือกระดาษฟาง
การตรวจความสำเร็จของการผสมเทียม
1. ทำการตรวจท้อง 60 วันหลังการผสมด้วยการล้วงตรวจ หากพบว่าปากมดลูกข้างที่ตั้งทองคล้ายลูกโป่งใส่น้ำวางตัวอยู่บนกระดูกเชิงกราน หรือปีกมดลูกทั้ง 2 ข้างมีขนาดใหญ่ไม่เท่ากัน โดยที่ปีกมดลูกข้างที่ตั้งท้องจะใหญ่กว่าข้างที่ไม่ตั้งท้อง และเส้นผ่านศูนย์กลางของปกมดลูกข้างที่ตั้งท้องจะประมาณ 6-9 เซนติเมตร ซึ่งถ้ากดอาจพบการกระเพื่อมน้ำ (Fluctuation) หากคลำรังไข่ จะพบก้อนเนื้อเหลืองบนรังไข่ข้างเดียวกับปีกมดลกที่ตั้งท้อง ลักษณะเหมือนดอกเห็ดหรือกรวยยื่นขึ้นมาจากเนื้อของรังไข่ รังไข่ข้างที่ตั้งท้องจะใหญ่กว่าข้างที่ไม่ตั้งท้อง แต่ไม่ควรคลารังไข่ เนื่องจากถ้าผู้ล้วงขาดความชานาญ จะทำให้ก้อนเนื้อเหลืองหลุด ทำให้แม่โคแท้งลูกได้
2. ดูจากบันทึกการผสมเทียม หากผ่านมา 2 รอบของการเป็นสัดแล้ว แต่โคไม่แสดงการเป็นสัด ให้คาดเดาว่าโคตั้งท้องแล้ว หรืออาจทำร่วมกับการล้วงตรวจก็ได้
แหล่งที่มา
1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์: กรมปศุสัตว์
2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รูปแบบองค์ความรู้
แผ่นพับการประชาสัมพันธ์และพัฒนาการเกษตรในโครงการของรัฐ
สื่อ Video
Link
1. การผสมเทียมโค-มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Link)
2. การผสมเทียมโค-กรมปศุสัตว์ (Link)